ลิขสิทธิ์เพลง “คืออะไร?”
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง
ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์
ความผิดกรณีเปิดเพลง
ถ้าร้านอาหาร ร้านกาแฟ ซื้อลิขสิทธิ์เพลงถูกต้องกฎหมาย ก็จะไม่มีความผิดใด ๆ แต่ถ้ามีการเปิดเพลงโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นการเปิดจากวิทยุ หรือ YouTube ถือว่ามีความผิดอาจจะต้องถูกดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลง
กรณีเปิดเพลงในร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่ไม่รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ มีโทษอะไรบ้าง
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท ถ้ามีการทำเพื่อการค้าจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน จนถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดกรณีนำเพลงไปร้อง
หากร้านอาหาร ร้านกาแฟ สถานประกอบการ หรือร้านอื่น ๆ นำเพลงไปร้องโดยไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมถึงการ Cover แล้วนำลงโซเชียลต่าง ๆ นั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ให้กับตัวเอง หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ทางการค้า ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 4 ปี หรือปรับเงินตั้งแต่ 100,000 บาท จนถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขั้นตอนขอลิขสิทธิ์เพลงสำหรับเปิดเพลงในร้านอาหาร / ร้านกาแฟ / ร้านคาราโอเกะ
1.ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิดในร้าน ว่ามีค่าย/บริษัทไหน ที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง ซึ่งสามารถเช็คได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา
( https://www.ipthailand.go.th/th/copyright.html ) รายชื่อเพลงของแต่ละบริษัทจัดเก็บ จะมีรายชื่อค่าย/บริษัทเพลง สามารถเข้าไปดูได้ว่ามีเพลงอะไรบ้าง
2.เมื่อรู้แล้วว่าเพลงนั้นเป็นของค่าย/บริษัทเพลงใด ท่านสามารถติดต่อขอใบเสนอราคาลิขสิทธิ์เพลงได้ที่ 094-5271133 ซึ่งราคาแต่ละบริษัทนั้นจะไม่เท่ากัน โดยจะแบ่งตามประเภทการใช้งานของแต่ละสถานที่
3. เมื่อตกลงได้แล้วว่าท่านจะใช้เพลงของค่ายใดบ้าง ทางเราจะทำการยื่นขอใบอนุญาตในการใช้เพลงกับแต่ละค่ายให้ท่านอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
4.สำคัญมาก!! ขอให้ท่านหมั่นตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายชื่อเพลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเพลงมีการโยกย้ายบริษัทอยู่ตลอดเวลา
หมายเหตุ การซื้อลิขสิทธิ์เพลงจากบริษัทลิขสิทธิ์ ไม่ใช่การขายสิทธิ์ครอบครองแต่เป็นการอนุญาตให้ใช้งานเพลงเท่านั้น จึงไม่สามารถนำเพลงไปดัดแปลงหรือขายต่อได้